เปียโนกับคีย์บอร์ด

แอนน โฮเฮ้นเคิรค, ALCM Member of the ISM (Incorporated Society of Musicians) กล่าวไว้ว่า ดิฉันเป็นครูสอนดนตรีมากว่า 35 ปี สอนทั้งวิชาเปียโนและวิชาคีย์บอร์ด สมัยที่เริ่มสอนยังไม่มีการค้นพบคีย์บอร์ด เพราะฉะนั้น นักเรียนที่ต้องการเรียนเปียโนก็จะต้องมีเปียโนไว้ที่บ้านเพื่อใช้ฝึกซ้อมเท่านั้น หลายปีผ่านมา ได้มีการค้นพบคีย์บอร์ดและคีย์บอร์ดได้กลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นที่นิยม อย่างไรก็ตามเปียโนและคีย์บอร์ดเป็นเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน ถ้าถามว่า “ดิฉันจะสนับสนุนผู้ปกครองให้ซื้อคีย์บอร์ดเพื่อให้เด็กนักเรียนเปียโนฝึกซ้อมหรือไม่” คำตอบคือ ไม่ค่ะ เพราะเทคนิคในการเล่นเครื่องดนตรีทั้งสองชนิดนี้ต่างกันมาก

ดนตรี เป็นเรื่องของการปลูกฝัง เป็นพรแสวงมากกว่าพรสวรรค์ การปลูกฝังให้เด็กมีใจรักดนตรีไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเฉพาะความเพลิดเพลินอย่าง เดียว แต่ยังทำให้เกิดทักษะในหลายๆ ด้านพัฒนาสมองและโสตประสาท ทำให้เป็นคนละเอียดอ่อน มีจิตใจอ่อนโยน มีเหตุผล มีสมาธิเป็นการฝึกให้เด็กมีวินัย เสริมสร้างบุคลิกภาพและพัฒนาความเป็นผู้นำ การปลูกฝังให้เด็กมีใจรักดนตรี นั้น ไม่จำเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องเล่นดนตรีเป็น แต่สิ่งที่จำเป็นมากสำหรับเด็กก็คือ “การได้รับกำลังใจและการสนับสนุนจากผู้ปกครอง” อาจ เริ่มจากการฟังเพลง Classic อย่างง่ายๆ ก่อน การฟังเพลง Classic จะช่วยให้เขารับรู้ถึงความงดงามของเสียงดนตรีที่ถ่ายทอดออกมา ท่วงทำนองที่ไพเราะของเพลง Classic ไม่ได้แต่งขึ้นมาเพื่อการค้า อันที่จริงแล้วเราได้ยินเพลง Classic ทุกวัน เช่น การเรียนดนตรีนั้นจะต้องเรียนอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยยิ่งดี เพื่อให้ซึมซับและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

ความ เชื่อของคนโดยมากที่คิดว่าการเล่นดนตรีให้เก่งนั้น เด็กต้องมีพรสวรรค์ ถ้าเด็กคนนั้นเล่นดนตรีไม่เก่ง แสดงว่าไม่มีพรสวรรค์ ผู้ปกครองบางท่านจึงคิดว่าการให้เรียนไปเรื่อยๆ ไม่จริงจัง แล้ววันหนึ่ง ถ้าเห็นว่าเด็กมีพรสวรรค์ก็ค่อยสนับสนุนทีหลังจึงเป็นความเชื่อที่ทำให้เด็ก เสียโอกาสในการเรียนรู้ จากงานโฆษณาชิ้นหนึ่งทางโทรทัศน์ที่ผ่านสายตาของ หลายๆ ท่านว่า “คนเราทุกคนเกิดมาพร้อมของขวัญคนละกล่อง ในแต่ละกล่องบรรจุพรสวรรค์ของแต่ละคน ทุกคนมีอิสระที่จะค้นหา พร้อมหรือยังที่จะแสวงหาพรสวรรค์เหล่านั้น” ฉะนั้นงานโฆษณาชิ้นนี้จึงสนับสนุนความคิดที่ว่า พรสวรรค์ไม่ได้เกิดจากการรอคอย ให้สวรรค์บันดาล แต่เป็นสิ่งที่พ่อ-แม่ ผู้ปกครองต้องแสวงหาให้เด็ก แสวงหาครูที่ดี หาโอกาส สร้างโอกาสและให้โอกาสที่ดีกับเด็กตลอดจนสร้างบรรยากาศให้เด็ก รู้สึกชอบดนตรีและรักดนตรีในที่สุด

“เด็ก ควรเริ่มเรียนดนตรีเมื่อไหร่?” ผู้ปกครองมักจะมีคำถามแบบนี้เสมอ คำตอบที่ได้รับ บางทีก็ได้รับข้อมูลที่ถูกบ้างผิดบ้างจากครูดนตรี บางครั้งพ่อแม่พาลูกไปที่โรงเรียนดนตรี ครูจะบอกว่ายังเล็กไป ไว้ 7 ขวบค่อยมา พอลูก 7 ขวบพาไปอีก ครูอีกคนบอกว่าน่าจะมาตั้งแต่เล็กๆ ผู้ปกครองคงจะสับสน ปัญหานี้เกิดกับผู้ปกครองหลายคนที่ได้รับคำตอบถูกบ้างผิดบ้าง จากครูดนตรีที่ไม่รู้จริง จริงๆ แล้ว เด็กเรียนดนตรีได้ตั้งแต่ยังเล็กๆอยู่ยิ่งเล็กยิ่งดี แต่ไม่ได้หมายความว่า 1 ขวบมานั่งเล่นเปียโน เพราะกล้ามเนื้อ แต่จะเรียนรู้ดนตรีได้ในวิธีที่ต่างกันขึ้นอยู่กับพัฒนาการกับการเรียนรู้ ของเด็กในแต่ละวัย เด็กสามารถสัมผัสกับดนตรีตั้งแต่อยู่ในครรภ์โดยอาศัยการฟัง เด็กที่ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมตั้งแต่ก่อนเกิดจะช่วยให้สมองได้รับการ พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ เด็กแรกเกิดจะเรียนดนตรีในลักษณะที่เป็นการสัมผัสประกอบเสียง ในขณะที่เด็กกำลังฟังอยู่นั้นคุณพ่อคุณแม่อาจใช้การสัมผัสลูกตามจังหวะเพลง ทั้งนี้ก็ต้องเลือกเพลงให้เหมาะสมกับเด็กด้วย เด็กเล็กๆ เรียนรู้ในเรื่องของเสียง และจังหวะได้

ดนตรีพัฒนา IQ และ EQ

จาก สภาพสังคมปัจจุบันที่มีแต่การแข่งขัน ส่งผลไปถึงพฤติกรรมของเด็ก ดังจะเห็นว่าเด็กสมัยนี้ดูเหมือนก้าวร้าวไม่ว่าการกระทำหรือคำพูด พฤติกรรมการแสดงออกขาดความยั้งคิด ประกอบกับสภาพการเรียนของเด็กไทยเป็นการเรียนแบบเอาเป็นเอาตายเพื่อให้มี IQ สูงนั้น ทำให้ผู้ปกครองหันมาสนใจในเรื่องของ EQ โดยคิดว่าจะมีส่วนช่วยส่งเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับบุตรหลานตน เอง ทางออกของผู้ปกครองคือการหากิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความพร้อม ความสมบูรณ์ดังกล่าว แม้ว่าผู้ปกครองหลายท่านไม่ทราบความหมายที่แท้จริงของ EQ ก็ตาม ดนตรีจึงเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ ผู้ปกครองสมัยนี้นิยมให้ลูกเรียนเพื่อเสริมสร้าง IQ และ EQ ให้กับเด็ก