ครูอ้อ

เรียนดนตรีให้ประสบผลสำเร็จ : ทฤษฎีสามเหลี่ยมความสำเร็จ

เป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า ไม่ว่าจะ หมุนไปทางไหนทุกฝ่ายมีความสำคัญเท่ากันหมด
3angle
ด้านที่หนึ่งคือ “มีผู้ปกครองสนับสนุน” ให้เรียนดนตรีอย่างต่อเนื่อง แม้ดิฉันจะขี้เกียจซ้อมบ้างแต่ผู้ปกครองไม่เคย ขี้เกียจไปส่งเรียนแม้แต่ครั้งเดียว ต้องเรียนดนตรีก่อนถึงไปเที่ยว ไม่เคยให้หยุดเรียนเปียโน แม้กระทั่งอยู่ในช่วงของการสอบที่โรงเรียนเพราะถือว่าเพียง 1 ชั่วโมงที่เรียนดนตรีไม่ได้ทำให้ เสียเวลาในการอ่านหนังสือ กลับเป็นการผ่อนคลายจากการท่องหนังสือ จนทำให้ดนตรีเป็นเหมือนชีวิตและเป็นอาชีพที่รักที่สุด

ด้านที่สอง คือ “มีโอกาสได้เรียนกับครูที่ดี” ท่านแรกอย่าง อาจารย์รุจิรา เจือสุคนธ์ทิพย์ ผู้ที่มีความอดทนกับความขี้เกียจซ้อมของลูกศิษย์เป็นอย่างมากจนกระทั่งอาจารย์ไปต่างประเทศ ด้วยความประทับใจในตัวอาจารย์รุจิรา จึงมีความหวังว่าสักวันหนึ่งคงมีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ที่เก่งและเข้าถึงใจของนักเรียนอย่างดิฉัน จนระยะเวลาล่วงเลยมาถึงช่วงเวลาที่ดิฉันได้มีโอกาสเรียนเปียโนที่ Carnegie Mellon University: Pittsburgh U.S.A ดิฉันได้รับความรู้และแนวคิดดีๆ มากมาย ได้เห็นโลกกว้างขึ้น ได้รับรู้ถึงระบบการเรียนการสอนวิธีปฏิบัติที่แตกต่างไปจากเดิม แต่ผู้ที่มาจุดประกายให้ ดิฉันเกิดความรักที่จะประกอบอาชีพครูสอนเปียโนอย่างจริงจังและต้องทุ่มเทในอาชีพการสอนคือ ท่านอาจารย์ ม.ร.ว.วิไลกัญญา วิชัยดิษฐ์ หรืออาจารย์หญิงปลา ท่านเป็นครูอย่างแท้จริง นอกจากความรู้ที่ ได้รับ ท่านยังให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ สร้างแรงบันดาลใจหลายๆอย่าง ซึ่งท่านเป็นครูต้นแบบที่ดิฉัน ยึดถือเป็นแบบอย่างเสมอมา

สำหรับด้านที่สาม คือ “ตัวผู้เรียน” เอง ที่แม้วันนี้เดินทางมาเป็นผู้สอนแล้วแต่ก็ยังต้องศึกษาและเรียนรู้สิ่งต่างๆต่อไป เพื่อที่จะได้เป็นครูที่ดีไม่เฉพาะวันนี้แต่ต้องเป็นครูที่ดีในทุกๆ วัน ดังที่อาจารย์ ม.ร.ว. วิไลกัญญา วิชัยดิษฐ์ ได้กล่าวไว้ว่า “เด็กมีพรสวรรค์ติดตัวมาแต่เกิด เปรียบเสมือนเพชรที่ฝังดิน ต้องขุดขึ้นมาถึงจะนำไปใช้ได้ คนที่ขุดคือผู้ปกครองแต่ละท่าน ที่เปิด โอกาสให้ลูกๆ ได้เรียน เพชรเมื่อขุดขึ้นมาใหม่ๆ ก็ยังดูไม่ออกว่าเป็นเพชร ยังเป็นก้อนดูไม่สวย ต้อง เจียระไน คนที่เจียระไนก็คือครู ต้องเจียระไนให้มีเหลี่ยม บางคนอาจจะเจียระไนไปได้เล็กน้อย ก็มี เหลี่ยมน้อย บางคนมากกว่าก็มีเหลี่ยมมาก เมื่อพัฒนาไปเรื่อยๆ เพชรนั้นจะยิ่งงามยิ่งสวย ความ สามารถก็จะยิ่งมากขึ้น”
teacher
ดังนั้นการเรียนดนตรีจึงเป็นเรื่องของพรแสวงมากกว่าพรสวรรค์ เมื่อแสวงหาครูที่ดีแล้ว ก็ต้องหาโอกาสในการแสดงความสามารถ ดิฉันเห็นว่าการให้โอกาสในการแสดงของเด็กจึงมีความสำคัญเป็น อย่างยิ่ง ดังนั้นคอนเสิร์ตเสียงสานฝันจึงเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 (ปี 2000) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนแสดงความสามารถในการเล่นเปียโนบนเวทีการแสดงจริง ฝึกให้กล้าแสดงออกต่อหน้า สาธารณชน รู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (โดยเฉพาะเวลาที่เล่นผิด) อีกทั้งร่วมกันทำประโยชน์ต่อสังคม โดยการแสดงต่อหน้าสาธารณชนจะกระตุ้นให้นักเรียนเอาใจใส่ฝึกซ้อมมากขึ้น นอกเหนือจากการฝึก ซ้อมประจำวัน ในชีวิตหนึ่งจะมีสักกี่ครั้งที่จะมีโอกาสขึ้นมาแสดงเดี่ยวเปียโนบนเวทีท่ามกลางสายตา ของผู้ชมจำนวนมาก ฉะนั้นการสร้างโอกาสทางการแสดงให้กับนักเรียนจึงได้รับการสนับสนุนจาก หลายฝ่ายและที่สำคัญคือการได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองทุกท่าน ดังนั้นการแสดงแต่ละครั้งจึงมี ความหมายสำหรับนักแสดงทุกคน อีกทั้งเป็นความทรงจำที่ดีในชีวิต ในแต่ละครั้งของการจัดการแสดง จะนำรายได้ไปสมทบทุนมูลนิธิต่างๆ อาทิเช่น มูลนิธิช้างแห่ง ประเทศไทย มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ เพื่อสร้างกุศลและสร้างโอกาสให้สัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยาก ให้ผู้ดูแลมีปัจจัยหาอาหารมาดูแลและต่ออายุสัตว์ผู้ยากไร้ ได้อาศัยปัจจัยเม็ดเงิน ความเมตตาจากทุก ท่านเพื่อการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ต่อไป

iamkru_aor@yahoo.com

(hotmail ไม่ได้ใช้แล้วนะคะ)

#สอนเปียโนตัวต่อตัว#สอนเปียโนทั้งเด็กและผู้ใหญ่#สอนเปียโนส่งสอบเกรดทุกระดับ#เรียนเปียโนให้เก่งไว#สอนเปียโนคลาสสิค#หาที่เรียนเปียโน#หาครูสอนเปียโน#สนใจเรียนเปียโนในกรุงเทพ#เรียนเปียโนเดี่ยว#เรียนเปียโนสำหรับเด็กเล็ก#ส่งสอบเกรดทุกสถาบันรวมทั้งLondon college of music#LCM#หาที่เรียนเปียโนแถวเกษตร#ลาดพร้าว#รัชดา#สอนเปียโนตั้งแต่4ขวบขึ้นไป#สอนเปียโนอย่างมืออาชีพ